เที่ยว Vienna Hofburg

 

เที่ยวเยอรมัน-400
Vienna Hofburg

เที่ยว Vienna Hofburg

วันที่ 25 ของการเที่ยว แม้ว่าพวกเราจะค้างกันที่ Vienna มากแล้ว 2 คืน (เมื่อวาน เที่ยว Bratislava)

แต่เช้านี้คือวันแรกที่จะได้เริ่มเที่ยวเวียนนากันจริงๆจังๆซักทีค่ะ

สถานที่แรกที่จะมุ่งหน้าไปก็คือ Vienna Hofburg หรือ Hofburg palace

ซึ่งเป็นใจกลางกรุงเวียนนา ฐานที่มั่นของตระกูล Habsburg อันยิ่งใหญ่ยาวนานถึง 640 ปี

แต่ก่อนอื่นขอสรุปประวัติความเป็นมาคร่าวๆ เพื่อความเข้าใจ และสร้างความสนุกได้มากขึ้นก่อนนะคะ


 

จุดเริ่มต้นความยิ่งใหญ่ของตระกูล Habsburg

ถ้ายังจำกันได้ ที่เราเคยไป เที่ยว Melk ตรงนั้นเคยเป็นฐานของตระกูลบาเบนเบิร์กใช่มั้ยคะ

แต่หลังจากตระกูลบาเบนเบิร์กล่มสลายลง ก็มีการแย่งชิงอำนาจระหว่าง

King Rudolf of Habsburg กับ King Ottokar of Bohemia

 

สุดท้าย King Rudolf ก็ชนะ ซึ่งก็ได้เป็น King of Roman คนแรกของตระกูล Habsburg

และนี่คือจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ ของตระกูลฮับส์บูร์ก (ปี 1278)

แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นจักรพรรดินะคะ

 

จนกระทั่งต่อมาอีกหลายรุ่น คือ Frederick III  ถึงจะได้เป็น Holy Roman Emperor องค์แรก ของตระกูลฮับส์บูร์ก

แล้วตำแหน่งจักรพรรดิ แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็ตกอยู่กับตระกูลฮับส์บูร์กมาโดยตลอด

ตั้งแต่ปี 1452(Frederick III) – 1806(Francis II)

 


โดยปี 1806 นี้เอง ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของ Holy Roman Empire


 

ต่อมาก็เป็นยุคของ Austrian Empire ซึ่งตำแหน่งจักรพรรดิก็ยังมีอยู่นะ

เพียงแต่ไม่ใช่จักรพรรดิของ Holy Roman Empire อีกแล้ว

เหมือนตำแหน่งมันควบซ้อนทับอยู่น่ะค่ะ   เหมือนใส่มงกุฏหลายอัน

ก็แค่ถอดมงกุฏอันหนักที่สุดออกแค่นั้นเองค่ะ

ยังเหลือตำแหน่งจักรพรรดิของ Austrian Empire อยู่

 


ตำแหน่งจักรพรรดินี้ ก็ส่งต่อสู่รุ่นลูกหลานมาเรื่อยๆ ในตระกูลฮับส์บูร์กนี้เอง

จนมาสิ้นสุดที่ปี 1918


 

แล้วมันเกี่ยวกับ Vienna Hofburg อย่างไร

วันนี้เรามาเที่ยวพระราชวังฮอฟบูร์กใช่มั้ยคะ  ขอเล่าเฉพาะที่เกี่ยวกับ Hofburg ละกันนะคะ

คือก่อนที่จะมีวังใหญ่ๆแบบนี้ ดั้งเดิมเล็กกว่านี้เยอะเลยนะคะ  นึกถึงบ้านตระกูลเศรษฐีน่ะค่ะ

 

พอตระกูลฮับส์บูร์กเริ่มมีอำนาจ หลังตระกูลบาร์เบนเบิร์กล่มสลาย

ก็เลยย้ายฐานจาก Melk ไปที่ Vienna  ซึ่งเป็นบ้านที่ตระกูล Habsburg อาศัยมาตังแต่บรรพบุรุษอยู่แล้ว

 

ตั้งแต่นั้นมา จากบ้านเศรษฐี ก็ขยายใหญ่ขึ้นให้สมฐานะกษัตริย์  เปลี่ยนผู้ปกครองที ก็ต่อเติมทีไปเรื่อยๆ

จนใหญ่อลังการ เดินจนเมื่อยอย่างที่เห็นนี่แหล่ะค่ะ


 

Vienna Hofburg Palace

ได้นับว่าเป็น Imperial Residence ในฐานะ จักรพรรดิ แห่ง Holy Roman Empire

ตั้งแต่ปี 1438 – 1583  และปี 1612 – 1806

 

แต่เป็น Imperial Residence ในฐานะ จักรพรรดิ แห่ง Austrian Empire

ตั้งแต่ปี 1806 – 1918

 

ถ้านับรวมระยะเวลาก่อนนั้นด้วย ส่วนที่เก่าที่สุดดั้งเดิมก็คงมีอายุมากกว่า 700 ปี เลยทีเดียว

ปัจจุบันก็ยังเป็นสถานที่ทำราชการ และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ

 


ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  ปี 1914 – 1918


 

 


เที่ยวเยอรมัน-398
ลงสถานี Herrengasse U3 ใกล้สุด

 

แผนผัง Vienna Hofburg

เที่ยวเยอรมัน-397
แผนผัง Hofburg Palace

ในพื้นที่ของ Hofburg Palace มีปีกอาคารหลักๆประมาณ 16 ส่วน

1 Swiss Wing, 2a Augustinian Church, 2b Augustinian Monastery, 3 Stallburg, 4 Amalienburg, 5 Leopold Wing, 6 Redouten Wing, 7 Winter Riding School, 8 Imperial Library, 9 Augustinian Wing, 10 Archduke Albrecht Palace (formerly Tarouca-de Sylva Palace), 11 Imperial Chancellory Wing, 12 Festsaal – Festival Hall Wing, 13 St. Michael’s Wing, 14 Neue Burg Wing, 15 Corps de Logis, 16 Palm House or Butterfly House

ส่วนของ Platz ต่างๆ ก็อีก 8 ส่วน

A Internal Castle Square, B Ballhausplatz – Ball House Square, C St. Michael’s Square, D Schweizerhof – Swiss Court, E Joseph Square, F Albertina Square, G Burggarten – Castle Garden, H Heldenplatz ( formerly External Castle Square)
Historical construction stages in colours:


(สีส้ม = 13th to 17th century , สีฟ้า = 18th century , สีเขียว = 19th to 20th century)

 

ในนั้นก็จะมีพิพิธภัณฑ์หลายประเภทมากๆนะคะ เช่น National History Museum, Museum of Art History, Museumsquartier,  Neue Burg

แต่ส่วนที่สำคัญ และฮิตที่สุด ที่นักท่องเที่ยวเวลาน้อยอย่างเราควรเข้าก็คือ

 

1. Imperial Silver Collection

ส่วนใหญ่เป็นข้าวของเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จาน ชาม ช้อน ส้อม โต๊ะอาหาร ของประดับโต๊ะอาหาร  และอีกเยอะแยะมากมาย

จนแอดมินคิดว่า เค้าหยิบของพวกนี้มาใช้กันจริงๆหรอ เลือกยังไง กว่าจะไปหามาได้คงตาลายกันแน่ๆ

ห้องจัดแสดงก็หลายห้อง ของก็เยอะ(มากๆจริงๆ) แนะนำว่าให้ใส่แว่นกันแดดเข้าไปด้วยนะคะ ไม่งั้น ประกายมันแยงตาค่ะ (555+ ล้อเล่น)

 

2. Sisi Museum 

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สร้างขึ้นมาใหม่ ตั้งแต่ปี 2009  เป็นห้องหลายห้อง พื้นเรียบๆ ไม่ใช่ห้องนอน ห้องทำงาน ที่ Sisi เคยใช้นะคะ(ก็เพิ่งสร้างนี่นะ)

เป็นการจัดแสดงแบบพิพิธภัณฑ์ทันสมัย บอกเล่าเรื่องราวของ Sisi โดยเฉพาะ

ประวัติความเป็นมา  ฉายหนัง(จอเท่าทีวี)  ชุด การถูกฆาตรกรรม

แอดมินชอบส่วนนี้นะคะ


ใครอยากรู้เรื่องราวชีวิตรักของ Sisi แนะนำให้ไปหาหนังเรื่อง Sisi น่าจะปี 1953

เป็นหนังเก่า ดูเผินๆเหมือนหนังรักน้ำเน่าค่ะ  แต่อย่าลืมว่านั่นคือหนังยุค 50  นะ


 

3. Imperial Apartments

ส่วนนี้ก็จะเป็นที่อยู่จริงๆแล้วค่ะ  ห้องนอน ห้องทำงาน ห้องรับแขก ห้องแต่งตัว

ไม่ใช่เฉพาะของ Sisi นะคะ  แต่เป็นของทุกพระองค์ที่เคยใช้วังแห่งนี้

แต่ที่เน้นมากเป็นพิเศษก็คงเป็น Maria Theresa กับ Sisi เพราะเป็นที่รู้จักกันดี

ส่วนนี้ก็น่าสนใจมากๆค่ะ


 

ค่าเข้าชม Vienna Hofburg

ถ้าพูดถึงการเข้าชม Vienna Hofburg  ก็จะหมายถึง เข้าชมพิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 ที่เลยค่ะ

ซึ่งจริงๆ Vienna Hofburg คือพื้นที่ทุกส่วน รวมถึงที่ต่อเติมภายหลังด้วยค่ะ

แต่เวลาไปซื้อตั๋ว เขาจะเรียก Vienna Hofburg ซึ่งก็หมายถึง

Imperial Silver Collection, Sisi Museum และ Imperial Apartments

 

ทั้ง 3 ที่นี้อยู่ติดๆกันค่ะ ถ้าดูจากในรูปแผนผังด้านบน ก็ประมาณเบอร์ 11, 13  แค่นั้นเองค่ะ

ซึ่งซื้อตั๋วเดียว ได้เข้าทั้ง 3 ที่เลยนะคะ

ค่าเข้า 12.9 ยูโร

การเข้าชมจะมี Audio guide ให้กดตัวเลขฟังเอาเองค่ะ


 

เที่ยวเยอรมัน-399
Sisi Ticket ; Hofburg palace , Schönbrunn Palace , Imperial Furniture Collection

Sisi Ticket

สำหรับพวกเรา เลือกใช้ตั๋ว Sisi Ticket นี้ เพราะคุ้มกว่าเยอะค่ะ

ซึ่งเป็นตั๋วที่ครอบคลุมพิพิธภัณฑ์ถึง 3 แห่งด้วยกันคือ

 

1. Vienna Hofburg ที่เล่าไปแล้วข้างต้น ซึ่งได้แก่

– Imperial Silver Collection

– Sisi Museum

– Imperial Apartments

(ค่าเข้า 12.9 ยูโร)

2. Schönbrunn Palace  แบบ Grand tour (ค่าเข้า 16.4 ยูโร)

3. Imperial Furniture Collection  (ค่าเข้า 9.5 ยูโร)

 


 

Sisi Ticket คุ้มมั้ย

ถ้าซื้อเดี่ยวๆ รวมกันจะได้ 38.8 ยูโร  แต่ Sisi Ticket ราคา 28.8 ยูโร เท่านั้น

ถ้าบางบอกว่า ไม่ได้อยากเข้า Imperial Furniture Collection ก็ไม่ต้องเข้าก็ได้

เพราะ  2 ที่แรกรวมกันก็ 29.3 ยูโร แพงกว่าด้วยนะ

ยังไงซะ Vienna Hofburg กับ Schönbrunn Palace ก็เป็นที่ที่ห้ามพลาดเด็ดขาดอยู่แล้วค่ะ

ฉะนั้น ฟันธง “คุ้มค่ะ”


 

แปลกนะคะ ถ้าพูดถึงเวียนนา แทนที่จะนึกถึงจักรพรรดิองค์ต่างๆ

แต่กลายเป็นว่า มีชื่อของ Sisi ที่ถึงกับตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะกันเลย

ขนาดตั๋วที่พวกเราซื้อ ยังชื่อว่า Sisi Ticket เลยนะ

Sisi คือใคร มาจากไหน สำคัญอย่างไร…

 


 

Sisi คือใคร

 หรือชื่อเต็มๆก็คือ Elisabeth Amalie Eugenie เป็นเจ้าหญิงจากตระกูล Wittelbach แห่งบาวาเรีย

ได้มาแต่งงานกับ Franz Joseph I  ซึ่งจะได้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิของ Austrian Empire

 


จำได้มั้ยคะที่บอกว่า Holy Roman Empire จบลงไปนานแล้ว แต่ Austrian Empire ก็ยังมีตำแหน่งจักรพรรดิอยู่นะคะ

แล้ว Franz Joseph I คนนี้ก็คือคนเกือบสุดท้าย ก่อนจะมีการยกเลิกตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรียนั่นเอง


 

ทำไม Sisi ถึงโด่งดัง

อาจเป็นเพราะแต่งงานกับ จักรพรรดิ Franz Joseph I ซึ่งครองราชนานถึง 68 ปี (1848-1916)

ตอนต้นรัชสมัย เป็นยุคที่เริ่มมีความเจริญ จนมาถึงจุดสูงสุด  และตกต่ำในปลายรัชสมัย

มีการต่อต้านกลุ่มคนชั้นสูง ราชวงศ์ และระบบกษัตริย์  จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่1


แต่เหตุผลที่แอดมินเดาเองว่า ทำไมออสเตรียถึงยก Sisi และ Franz Joseph I เป็นจุดขาย

ก็เพราะว่าทั้งคู่ทั้งสวย ทั้งหล่อ และมีสตอรี่ นั่นเองค่ะ


 

ชีวิตหลังแต่งงานของ Sisi

Sisi แต่งงานตอนอายุ 17 กับ Franz Joseph I  ซึ่งมีอายุ 24 ด้วยความรักล้วนๆ

ตอนแรก Franz Joseph I ได้ถูกคลุมถุงชน ให้แต่งงานกับพี่สาวของ Sisi

แต่ Franz Joseph I ไม่ยอม และอยากแต่งงานกับ Sisi คนเดียว

จริงๆเค้าก็เป็นญาติกันนะ


 

Sisi เป็นคนตัวเตี้ย (172 ซม. ไม่เตี้ยนะสำหรับคนเอเซียอย่างเรา แต่บ้านเขาบอกว่า เนี่ยะคือเตี้ย)

มีนิสัยรักอิสระ แม่สามีเลยไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แถมยังมีอคติทุกเรื่อง

 

แต่ Sisi ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก(ในขณะนั้น) เป็นคนดูแลรูปร่าง และสุขภาพมาก (มากเกินไป จนไม่ค่อยสนใจสามี)

มีลูกสาว 2 คนแรก ก็พาไปท่องเที่ยว จนติดโรค อีกคนเสีย แต่อีกคนรอด

 

กระทั่งมีลูกชายคนต่อมา ก็ไม่ได้เลี้ยงดูด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะไม่สนใจ

แต่เพราะแม่สามีเอาไปเลี้ยง ไม่ยอมให้ Sisi เลี้ยงต่างหาก


เป็นไง อย่างกับละครน้ำเน่าของไทยเลยใช่มั้ยคะ


 

ลูกชายคนนี้ก็ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง โดนบังคับให้แต่งงานกับคนที่ตัวเองไม่ชอบ

เลยกลายเป็นคนมีปัญหา ติดยา จนฆ่าตัวตายในที่สุด ด้วยอายุเพียงแค่ 31 ปีเท่านั้น

 

ตอนนั้น Sisi อายุ 52   Sisi เสียใจมาก ก็เลยออกท่องเที่ยวตลอด แทบจะไม่ได้กลับมาเลย

แต่การเที่ยวของเธอไม่ได้เที่ยวแบบไร้สาระนะคะ  ได้ร่ำเรียน สนใจภาษาฮังกาเรียน ทำประโยชน์ต่างๆ

ถึงกับได้รับการยกย่องและเป็นมิตรที่ดีของชาวฮังกาเรียนเลย

 


 

ฝ่ายสามี Franz Joseph I ก็เสียใจเรื่องลูกชายไม่แพ้กัน และก็ยังรัก Sisi ไม่มีวันเปลี่ยน

แต่ด้วยตำแหน่งก็ยังต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ค่อนข้างห่างเหิน


 

จุดจบที่น่าสงสารของ Sisi

เหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึง Sisi อายุ 60 ระหว่างการท่องเที่ยวที่สวิตเซอร์แลนด์

ช่วงก่อนหน้านั้น ก็มีกระแสล้มระบอบกษัตริย์ คนที่เป็นเชื้อพระวงค์ถูกลอบสังหารหลายราย

Sisi ไม่ใช่เป้าหมายหรอกค่ะ นักศึกษาชาวสลาฟคนนั้น วางแผนจะสังหารเจ้าชายอีกคน

แต่บังเอิญว่า เจ้าชายคนนั้นไม่มา เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยวที่ลับมีดมาแล้ว

ก็เลยหันไปฆ่า Sisi แทน เพราะเห็นเป็นคนชั้นสูงเหมือนกัน

(อ้าว…เฮ้ย)


 

ตอน Sisi ถูกแทง ยังไม่รู้ตัวเลยว่าถูกแทง  แค่นึกว่าโดนชนล้มลง ก็แค่จะลุกขึ้นเฉยๆ

แต่พอลุกได้ยังไม่ได้ได้เดินก็ล้มลงไปอีก บ่นกับตัวเองว่า “เกิดอะไรขึ้นกับฉันเนี่ยะ”

จากนั้นก็เสียชีวิตในทันที


 

Franz Joseph I เสียใจมาก (น่าจะมากกว่าเสียลูกชายอีกมั๊ง) แต่ก็มีอายุต่อมาได้อีก 18

ก็เสียชีวิต ก่อนสงครามโลกครั้งที่1 จะจบลงแค่ 2 ปีเท่านั้น ด้วยวัย 86 ปี


 

หลังจากนั้น Charles I ก็ขึ้นรับตำแหน่งต่อ แต่ก็อยู่ได้แค่ 2 ปี ก็ถูกบังคับให้สละบัลลังก์

พร้อมๆกับการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

ครอบครัวเชื้อพระวงค์ต่างๆก็ถูกยืดทรัพย์หมด  และถูกเนรเทศไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์

เป็นอันสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ อันยาวนานกว่า 640 ปี ของราชวงค์ฮับส์บูร์กอย่างเป็นทางการ


 

อ่านเพิ่มเติม : ประวัติออสเตรีย

 


 

 


รวมลิ้งค์ทุกตอน รีวิวเที่ยวยุโรป Season1


สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
  • GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
  • กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide

ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.