สถาปัตยกรรมยุโรป

สถาปัตยกรรมยุโรป

เวลาเราไปเที่ยวยุโรปก็มักจะได้ยินว่า มหาวิหารแห่งนี้เป็นสไตล์กอธิก สไตล์บาโรก ฯลฯ กันใช่มั้ยคะ แล้วสงสัยกันมั้ยคะว่า พวกสไตล์ สถาปัตยกรรมยุโรป เหล่านี้เขาดูกันอย่างไร มันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร  แล้วเราจะเที่ยวอย่างสนุก อิน และซาบซึ้งยิ่งขึ้นค่ะ

เรื่องของ สถาปัตยกรรมยุโรป  ส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงโบสถ์ วิหาร มหาวิหาร ซึ่งบางทีเราก็ได้ยินชื่อที่ต่างกันออกไป  โดยหลักๆแล้วโบสถ์คริสต์ จะมีไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหลัก แต่โบสถ์หรือวัดของคริสต์ก็มีเรียกได้หลายแบบด้วยนะคะ


 

 

ประเภทของโบสถ์คริสต์

Basilica หรือ มหาวิหาร     แปลว่า สิ่งก่อสร้างแบบมหาวิหาร

Cathedral หรือ อาสนวิหาร     คือ สถานที่ทางศาสนา ที่เป็นที่ตั้งของบัลลังก์ของมุขนายก (Cathedra)

พูดง่ายก็คือ Cathedral คือ สถานที่  ส่วน Cathedra เป็นที่นั่ง

ถือว่าเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจการปกครองของมุขมณฑล

Church  หรือ โบสถ์     เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่ทางศาสนาคริสต์โดยรวมๆ

Chapel หรือ โบสถ์น้อย      เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  มักจะมีขนาดเล็ก  แต่บางที่ก็ใหญ่  อาจเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างอิสระ  หรือจะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่ใหญ่กว่าก็ได้  เช่น เป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์ใหญ่ วัง วิทยาลัย  โรงพยาบาล คุก หรือแม้กระทั่งสุสานก็ได้

Monastery หรือ อาราม    เป็นสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้าง ที่ใช้เป็นที่พักอาศัย และที่ทำงานของนักพรต(Monk)

Abbey     คือ อารามชนิดหนึ่งในนิกายโรมันคาทอลิก  หรือเคยเป็นแต่ตอนนี้อาจไม่ได้เป็นแล้ว

Abbot   คือ อธิการอาราม (ผู้ชาย)

Abbess   คือ อธิการิณีอาราม (ผู้หญิง)

Convent  หรือ คอนแวนต์    คือ ชุมชนของบาทหลวง(Priest)   นักพรต(Monk) นักพรตหญิง(Nun)  ภราดา(ฺBrother)  ภคินี(Sister)

Hermitage หรือ อาศรม    คืออารามที่อยู่ของนักบวชที่ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ

Minster  เมื่อก่อนเป็นคำที่ใช้เรียกอารามที่ปกครองโดยนักบวช ไม่ใช่บาทหลวง  แต่ในปัจจุบัน Minster ก็คือมหาวิหารที่เคยเป็นอารามมาก่อน (เพราะบางที่อารามก็ได้เลื่อนฐานะเป็นมหาวิหารได้ด้วย)

Priory   เป็นอารามที่ปกครองโดย Pryor(เป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่าAbbot)

Shrine  หรือ สักการสถาน     เป็นสถานที่เก็บ relic หรือชิ้นส่วนของร่างกายของนักบุญ (บ้านเราเรียก พระธาตุ)  เก็บรูปเคารพต่างๆ หรือเป็นที่ระลึกถึงบุคคลสำคัญ


 

ทำไมมหาวิหารต้องยิ่งใหญ่อลังการ

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระเจ้า

เพื่อเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งมุขนายก

เพื่อเป็นที่ประชุม พบปะ ทั้งคนในท้องถิ่น และระดับมณฑล หรือระดับชาติ

เนื่องจากมหาวิหารส่วนใหญ่เคยเป็นอารามมาก่อน  ซึ่งก็จะมีนักพรตอยู่เยอะ ซึ่งบางทีการสวดมณต์ก็อาจจะแยกไปตามคูหาเล็กๆอีกเพื่อความเป็นส่วนตัว ก็เลยต้องสร้างให้ใหญ่

บางที่ก็ใช้มหาวิหารเป็นที่ฝังศพของผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะ ซึ่งได้ถวายเงินสร้างต่อเติมขยายให้สมฐานะ

บางที่ก็เป็นที่เก็บพระธาตุของผู้ที่มีความสำคัญทางศาสนา

มหาวิหารเป็นสิ่งก่อสร้างคู่บ้านคู่เมือง ที่จะเป็นสิ่งแสดงฐานะความมีหน้ามีตาของเมือง


 

มหาวิหารเริ่มมีตั้งแต่เมื่อไหร่

ตั้งแต่ค.ศ.313  ที่กรุงโรมสมัยจักรวรรดิโรมัน โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่1   หลังจากที่ศาสนาคริสต์ถูกประกาศให้เป็นศาสนาที่ยอมรับกัน   โบสถ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


 

สถาปัตยกรรมของมหาวิหารในยุโรป

สถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรก (Early Christian architecture) คริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10

ภายนอกดูค่อนข้างเรียบง่าย

ภายในเป็นโมเสก

เช่น มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร ที่กรุงโรม

ภายนอก Basilica di Santa Maria Maggiore หรือ St. Mary Major  (รูปจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร)

 

ภายในมหาวิหารซานตามาเรียมายอเร (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรมมหาวิหารในยุโรปตะวันตก)

 

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ (Byzantine architecture)   ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12

เช่น St Mark’s Basilica ที่เวนิส

ด้านหน้ามหาวิหารซันมาร์โก
ภายนอก St Mark’s Basilica (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารซันมาร์โก)

 

ภายใน St Mark’s Basilica ตกแต่งด้วยโมเสก (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารซันมาร์โก)

 

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture)   ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12

ชาวอังกฤษมักเรียกสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เพราะมาจากพระเจ้าวิลเลียมที่1 จากนอร์มังดี

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ เช่น Worms Cathedral ที่เยอรมนี

ภายนอก Worms Cathedral (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารวอมส์)
ภายนอก Worms Cathedral (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารวอมส์)

 


 

สถาปัตยกรรมกอธิค (Gothic architecture)   คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16

ลดความเทอะทะลง  หน้าต่างเริ่มกว้างขึ้น  เพเดานโค้งๆที่เคยต้องรับหนักเยอะๆก็ทำให้เบาลง   และจากโค้งก็เป็นแหลมขึ้น

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมกอธิค  เช่น  Cologne Cathedral

File:Gothic-Cologne-Cathedral-004.jpg
Cologne Cathedral (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Cologne_Cathedral)

 

สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ (Renaissance architecture)   คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17

เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

เป็นการนำศิลปโครงสร้างเทคนิคแบบโรมันมาใช้

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ เช่น Basilica of Saint Peter เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่ง ในกรุงโรม

ภายนอก Basilica of Saint Peter (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารนักบุญเปโตร)

 

ภายใน Basilica of Saint Peter (ภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิหารนักบุญเปโตร)

สถาปัตยกรรมบาโรก (Baroque architecture)   คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

เป็นสถาปัตยกรรมที่มีไดนามิค คือรูปทรงเหมือนจะมีชีวิต ราวกับจะเคลื่อนไหวได้  เพราะคำว่า Baroque หมายถึงรูปทรงที่บิดวนอย่างหอยมุก

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมบาโรก เช่น มหาวิหารเซนต์พอล ในอังกฤษ ซึ่งเป็นการออกแบบโดยสถาปนิกแค่คนเดียว แถมยังสร้างเสร็จในระยะเวลาที่รวดเร็ว

St Paul’s Cathedral (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/St_Paul%27s_Cathedral)

 

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค (Neo-gothic architecture)  หรีอ สถาปัตยกรรมวิคตอเรีย (Victorian architecture) ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

ยุคนี้เป็นยุคที่สถาปนิกหันไปเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคเก่าๆเช่น กอธิค หรือ เรอเนซองส์  แล้วก็เรียกชื่อตามนั้นแค่เพิ่มคำว่าฟื้นฟู เช่น สถาปัตยกรรมกอธิกฟื้นฟู

สถาปัตยกรรมแบบกอธิคเป็นที่นิยมนำมาฟื้นฟูมากที่สุด  เช่น Liverpool Cathedral , St Paul’s Cathedral ที่นิวยอร์ก , Cathedral of Saint John the Divine ที่เมลเบิร์น

Liverpool Cathedral (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Liverpool_Cathedral)

 

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern architecture)  ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

ยังคงเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคกลาง เพียงแต่ปอกรายละเอียดออก จนดูเกลี้ยงๆ  แล้วยังใช้อิฐแทนหิน

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่  เช่น Guildford Cathedral

Guildford Cathedral (ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Guildford_Cathedral)

 

 

อย่างไรก็ตาม มหาวิหารแต่ละแห่งก็จะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง  และอาจจะไม่ใช่สถาปัตยกรรมแบบใดแบบหนึ่งล้วนๆ อาจมีการผสมผสานกัน เพราะมหาวิหารแต่ละแห่งจะต้องใช้เวลาสร้างนานมากอาจเป็นร้อยๆปีก็มี  และมีการขยายต่อเติม  ซ่อมแซม  หรือสร้างใหม่เมื่อของเดิมถูกไฟไหม้หรือถูกทำลายลง

 

สรุปสถาปัตยกรรมมหาวิหารแต่ละที่

  • อิตาลี – วัสดุหลากสี, รูปทรงแจ่มชัด, ผังมีความสมมาตร, โดมกลางจุดตัด, หอสร้างต่างหาก
  • ฝรั่งเศส – เน้นความสูง, ลักษณะภายนอกคล้องจองกัน, ผังกระชับ, ยอด “flèche” แหลมบนจุดตัด, ด้านหน้ามีหอคู่ หรือ หอด้านแขนกางเขน
  • อังกฤษ – เน้นแนวนอน, สถาปัตยกรรมหลายสมัย, ผังขยาย, หอบนจุดตัดใหญ่บางทีมียอด, ด้านหน้ามีหอคู่
  • เยอรมนี – ใหญ่, สี่เหลี่ยม, ผังกว้าง, หอบนจุดตัดเป็นแปดเหลี่ยม, หอหลายหอ, หอแหลมหอสองหอสมัยกอธิค หอเป็นหินปรุ
  • สเปน – โปร่ง, ตกแต่งอย่างวิจิตร, ผังซับซ้อน, หลังคาหลายแบบ, ด้านหน้ามีหอคู่

 

แต่การสรุปนี้ไม่ได้แยกความแตกต่างในช่วงเวลาหรือพื้นที่  เพราะสถาปนิกอาจมีการย้ายถิ่นย้ายประเทศด้วยก็ได้

 

ข้อมูลจาก  https://th.wikipedia.org/wiki/โบสถ์คริสต์

สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
  • GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
  • กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide

ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.